นางสาว สิริภา บัวศรี กลุ่ม ชบ.12 เลขที่ 11

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สถิติการใช้งานอินเตอร์เน็ตของคนไทยปี 2556

ต้องขอขอบคุณกระทรวง ICT อย่างยกใหญ่  ที่เผยข้อมูลล่าสุด “รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2556″ ที่เราไม่ได้เห็นกันมาหลายปี  ด้วยความอยากที่ให้ผู้อ่าน  MarketingOops.com ได้รับการอัพเดทนี้อย่างเร็ว ทางเราจึงนำข้อมูลมาให้ดาวน์โหลดได้ในทันที เพราะเชื่อว่า กิจกรรมและการใช้อินเทอร์เน็ตของไทยจะต้องมีความเปลี่ยนแปลงจากหลายปีที่ผ่านมา ทั้งอุปกรณ์การใช้อินเทอร์เน็ต จำนวนผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค การซื้อสินค้าผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค และข้อมูลสำคัญอื่นๆ


สำหรับภาพด้านล่างนี้ เป็นไฮไลท์ข้อมูลตัวอย่างของการสำรวจนี้










ตัวอย่างเว็ปไซต์ e-commerce


1.http://www.olx.co.th       Consumer-to-Consumer (C2C)




2.https://www.pizzahut.co.th           Business-to-Consumer (B2C)




3.https://www.kfc.co.th         Business-to-Consumer (B2C)  



4.http://www.tescolotusfs.com/    Business-to-Consumer (B2C)  



5.http://www.cafe-amazon.com/     Business-to-Consumer (B2C) 



6.http://www.thaicooperative.org/       Consumer-to-Business(C2B)



7.http://www.kaidee.com/      Consumer-to-Consumer (C2C)



   8.https://rdserver.rd.go.th     Goverment-to-Citizen (G2C)



9.http://www.jobth.com/       Consumer-to-Consumer (C2C



10.http://www.yayoirestaurants.com/       Consumer-to-Consumer (C2C  

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประเภทของ e-commerce

มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบ เช่น แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วน และแบ่ง อีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าเป็น 2 ประเภท เป็นต้น

อีคอมเมิร์ซ 5 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภทก็ได้ดังต่อไปนี้

  1. ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เน็ตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เน็ต
  2. ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภท ที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เน็ต
  3. ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
  4. รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
  5. ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่น ที่อีเบย์ดอทคอม (Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้
อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภทก็อาจจะแบ่งได้ ดังต่อไปนี้
  1. อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

    - การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ กลุ่มสนทนา กระดานข่าว เป็นต้น
    - การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น เช่น อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น
    - ซื้อขายสินค้าและข้อมูล ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยสะดวก
     
  2. อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    - การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
    - การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
    - การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น
     
  3. อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce) ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้

    - การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ
    - การจัดการสินค้าคงคลัง
    - การจัดส่งสินค้า
    - การจัดการช่องทางขายสินค้า
    - การจัดการด้านการเงิน
อีคอมเมิร์ซ 6 ส่วน ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วนก็แบ่งได้ดังต่อไปนี้
  1. การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท
     
  2. การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เนตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เน็ตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เน็ตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้ เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เน็ตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     
  3. อินเตอร์เน็ตอีดีไอ หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง
     
  4. โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เน็ต การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     
  5. การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     
  6. ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure Electronic Transaction) อาร์เอสเอ (RSA = Rivets, Shamir and Adelman) ดีอีเอส (DES= Data Encryption Standard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 2 ประเภท สินค้า ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
  1. สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เน็ต
     
  2. สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปะชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังเครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์
 

องค์ประกอบของ E-Commerce

การทำการค้าบนเว็บไซต์นิยมแบ่งตามลักษณะของผู้ค้า และกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ค้าทำธุรกิจอยู่ด้วยซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มได้ดังนี้ คือ
Business to Business (B-to-B) : เป็นการค้าขนาดใหญ่ระหว่างองค์กรกับองค์กรซึ่งดดยทั่วไปจะเป็นสินค้าส่งออกหรือนำเข้าที่ต้องส่งสินค้าเป็นจำนวนมากๆ จะมีการชำระเงินผ่านทางระบบธนาคาร เช่น T/T , L/C Business to Consumer (B-to-C) : เป็นการค้าปลีกไปยังผู้บริโภคทั่วโลกหรือภายในท้องถิ่นของตน ในส่วนนี้อาจจะรวมการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหล หรือค้าส่งขนาดย่อยไว้ด้วย ซึ่งการชำระผ่านระบบบัตรเครดิต อย่างไรก็ตาม การค้าแบบ B-to-C นี้มันทำให้เกิดการค้าแบบ B-to-B ในอนาคตได้ และหลายบริษัทฯ มักทำกิจกรรมสองอย่างนี้ในคราวเดียวกันConsumer to Consumer : เป็นการค้าปลีกระหว่างบุคคลทั่วไป หรือระหว่างผู้ใช้ทางอินเทอร์เน็ตด้วยกัน เช่น อาจจะเป็นการขายสินค้าหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้งานแล้ว รวมทั้งการขายซอฟต์แวร์ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีเป็นจำนวนมากทีเดียวที่เปิดเว็บไซต์มาเพื่อขายซอฟต์แวร์ที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา ซึ่งผู้พัฒนาอาจจะเป็นเพียงนักเรียนหรือนักศึกษาเท่านั้น ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นการแบ่งกลุ่มแบบคร่าวๆเท่านั้นที่จะช่วยให้ตัดสินใจว่าจะดำเนินแนวทางธุรกิจไปในรูปแบบใดในการทำธุรกิจบนเว็บซึ่งถือเป็นการเลือกคู่ค้าไปในตัว และจะต้องเตรียมตัวในลักษณะใดในการทำธุรกิจประเภทนั้น



โครงสร้างและองค์ประกอบของระบบ E-Commerce

องค์ประกอบหลักของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้เราสามารถประกอบธุรกิจได้ผ่านทางหน้าเว็บ มีดังนี้

- เว็บเพจหรือร้านค้าบนเว็บ : ที่เราสามารถจะประกาศขายสินค้าบนระบบอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงหน้าโฆษณาธรรมดาที่เอาไปฝากไว้กับเว็บไซต์อื่นหรือร้านอื่นเอาไว้ หรือมีชื่อร้านหรือเว็บไซต์เป็นของตนเอง เช่น www.siamgift.com, www.siamflorist.com เป็นต้น หน้าเว็บเพจสำหรับเสนอขายสินค้านี้บางทีเราจะเรียกว่า ”หน้าร้าน”

- ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ (Shopping Cart System) : เป็นระบบที่สามารถคลิกเพื่อสั่งซื้อสินค้าผ่านทางหน้าเว็บเพจได้ ซึ่งจะมีช่องให้กรอกจำนวนสินค้าที่สามารถสั่งซื้อได้ โดยจะเปรียบเทียบยการซื้อแต่ละครั้งเหมือนการหยอดของลงตะกร้าหรือรถเข็น และสะสมไว้จนกว่าจะพอใจแล้วจึงชำระค่าสินค้าผ่านแคชเชียร์อัตโนมัติ (ระบบตะกร้านี้จะมีหลายรูปแบบมาก และสามารถปรับเปลียนหรือออกแบบให้เหมาะกับสินค้าหรือบริการแต่ละชนิดได้)

- Secure Payment System : เป็นระบบคำนวณเงินและชำระค่าสินค้าที่ปลอดภัยโดยส่วนใหญ่จะเป็นการชำระผ่านทางบัตรเครดิต(ซึ่งในประเทศไทยปัจจุบันเราสามารถรับเงินผ่านทางเว็บด้วยบัตร Visa,AMEX,Master,SCB,และJCB ได้แล้ว ) ซึ่งการถ่ายโอนข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตบนเครือข่ายจำเป็นต้องมีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการรั่วไหล ระบบที่ใช้กันอยู่มากก็คือ SSL (Secure SocketLayers) แต่ก็ยังไม่ปลอดภัยนัก เพราะไม่สามารถที่จะเช็คได้ว่าผู้ถือบัตรใช่ตัวจริงหรือไม่และระบบนี้ยังบอกไดัแค่เพียงว่าร้านนี้คือใคร? จึงได้มีการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาคือ SET (Secure Electronic Transaction) ซึ่งจะมีการระบุว่าเป็นตัวจริงทั้งสองฝ่าย แต่ก็มีปัญหาตามมาคือในการใช้ระบบนี้จะต้องมีการลงทุนที่สูงมากจึงทำให้ไม่แพร่หลาย

ซึ่งการทำงานจริงนั้น ระบบทั้งหมดนี้จะเป็นระบบที่ทำงานอัตโนมัติ กล่าวคือ คำสั่งซื้อที่ได้ จะถูกส่งเข้าเมล์บ็อกซ์หรือตู้จดหมายของเราอัตโนมัติ(หรืออาจจะเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลบัตรเครดิตก็สามารถส่งเข้าไปขอวงเงินที่ธนาคารได้อัตโนมัติ (ขึ้นอยู่กับระบบที่ใช้) โดยจะมีการแจ้งยืนยันไปที่ลูกค้าด้วยซึ่งถ้าใครขายสินค้า ที่สามารถดาวน์โหลดได้เลยก็จะได้เปรียบเพราะลูกค้าสามารถรับมอบสินค้าไปได้เลย ในขณะที่เจ้าของร้านก็ได้รับเงินเข้าบัญชีเลย แต่ถ้าไม่พร้อมที่จะเชื่อมต่อระบบอัตโนมัติ (ซึ่งอาจจะเนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายสูง) เราก็อาจให้ส่งเข้ามาที่ตู้รับจดหมายของเราก่อนก็ได้ แล้วค่อยโทรขออนุมัติวงเงินภายหลังก็ได้ (ถ้าสินค้าชนิดนั้นลูกค้าสามารถรอได้ แต่ถ้าเป็นสินค้าเช่น Ringtone หรือ Logo ก็ควรที่จะได้รับการอนุมัติเลย)

จากความจริงระบบนี้สามารถเข้าเชื่อมต่อกับระบบ Back Office ได้เลยจำพวก สินค้าคงคลังระบบวางแผนการผลิต ระบบการเงินและบัญชี เป็นต้นรวมทั้งอาจจะทำเป็นในระบบ Tracking สำหรับให้ผู้สั่งซื้อคอยติดตามความคืบหน้าของคำสั่งซื้อของเขาก็ได้ว่าตอนนี้ถึงขั้นตอนไหนแล้วเพื่อที่ลูกค้าจะได้มีความมั่นใจว่าของที่ตนสั่งซื้อไปอีกฝ่ายได้รับรู้เรื่องการสั่งซื้อนี้แล้ว





พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)


ความหมาย

Electronic Commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป



ข้อดี
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางไปซื้อสินค้า เพียงแค่เลือกซื้อผ่านเว็บไซต์เท่านั้น
  • ประหยัดเวลาในการติดต่อ แค่ใช้เวลาไม่นานแค่เพียงไม่กี่วินาทีเราก็สามารถติดต่อซื้อสินค้าได้
  • การเปิดร้านค้าในอินเตอร์เน็ตเป็นการขยายตลาดสู่ทั่วโลก ไม่จำกัดเฉพาะแค่ในประเทศ และยังทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการได้เลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น
  • ผู้ขายสามารถเปิดร้านได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด และผู้บริโภคก็สามารถซื้อสินค้าได้ทุกวัน
ข้อเสีย
  • ผู้ซื้ออาจไม่แน่ใจว่าสั่งซื้อแล้วจะได้รับสินค้าจริง หรือได้รับสินค้าที่ไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือสินค้าชำรุดเสียหายหรือสูญหาย
  • สินค้าอาจเป็นสินค้าที่ไม่ผ่านการทดสอบ หรือสินค้าไม่มีคุณภาพ
  • เสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกง หรือถูกโกงราคาหรือถูกหลอกลวงได้ง่าย
  • ข้อมูลสินค้าบางอย่างอาจมีการโอ้อวดคุณภาพสินค้าเกินจริง โดยที่เราไม่สามารถตรวจสอบได้
  • ในระบบกฎหมายของไทย ยังไม่มีการให้ความคุ้มครองอย่างทั่วถึงเพียงพอ ความปลอดภัยในข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตจึงยังไม่ปลอดภัยพอ




ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต



ความหมายของอินเทอร์เน็ต
          
                      อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด




อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
            
                                ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
                           กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกาในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)




ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต

                    อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนเมืองแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วมุมโลก จึงมีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือE-mail
เป็นการส่งจดหมายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งสสามารถส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ ในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย แล้วส่งไปยังผู้รับ ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย

2.กรขอเข้าระบบจากระยะไกลหรือเทลเน็ต(Telnet)เป็นบริการอินเน็ตรูปแบบหนึ่งโดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและต่ออินเตอร์เน็ตไว้เราสามารถเรียกข้อมูลจากที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง
3.การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol หรือ FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4.การสืบค้นข้อมูล(Gopher,Archie,World wide Web) หมายถึง การใช้เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นเมนู ทำให้เราหาข็อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น
5.การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตน โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenet มากกว่า15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ให้ทุกคนจากทั่วมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง

6.การสื่อสารด้วยข้อความ(Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ไดัรับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7.การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Eletronic Commerce) เป็นการจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้าตลอด24ชั่วโมง ในปี2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก5ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุรไม่มากนัก
8.การให้ความบันเทิง(Entertain) ในอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น




http://pongye.blogspot.com/2012/01/blog-post.html